บริการหน่วยงานภาครัฐ
แจ้งเรื่องราวร้องทุกข์
การบริการด้านนิติวิทยาศาสตร์
ส่งวัตถุพยาน
การตรวจสารพันธุกรรมเพื่องานทะเบียนราษฎร
การบริการส่งวัตถุพยาน
วัตถุพยานที่เข้าสู่กระบวนการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ต้องมีความถูกต้องในการเก็บรวบรวมวัตถุพยานและวิธีการบรรจุหีบห่อวัตถุพยานที่เหมาะสมต่อการตรวจพิสูจน์ของห้องปฏิบัติการ รวมทั้งการนำส่งวัตถุพยานอย่างถูกวิธี มีการแสดงหรือปรากฏรายละเอียดของลำดับการครอบครองวัตถุพยาน (Chain of Custody) ที่ชัดเจน
ลงทะเบียนสมาชิก
คุณสามารถ ขอรับบริการต่างๆ ได้โดยการเข้าสู่ระบบด้านล่างนี้หรือหากยังไม่เป็นสมาชิก สำหรับหน่วยงานภาครัฐ กรุณาติดต่อสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อลงทะเบียนเป็นสมาชิก
ขั้นตอนการส่งวัตถุพยาน
1. กรอกรายละเอียดในระบบ e-one stop service 2. รอการยืนยันความถูกต้องของวัตถุพยานที่จำนำส่งตรวจพิสูจน์จากเจ้าหน้าที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ผ่านระบบ e-one stop service 3. นำส่งวัตถุพยาน ณ กลุ่มบริหารจัดการวัตถุพยาน ชั้น 9 อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ศูนย์ราชการเฉลืมพระเกียรติฯ ถ.แจ้งวัฒนะ แขงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โดยวิธีการนำส่งด้วยตนเอง หรือการนำส่งทางไปรษณีย์ 4. ติดตามความคืบหน้าของกระบวนการตรวจพิสูจน์ผ่านระบบ e-one stop service 5. รับรายงานผลการตรวจพิสูจน์
การตรวจสารพันธุกรรมเพื่องานทะเบียนราษฎร
การตรวจสารพันธุกรรมเพื่องานทะเบียนราษฎรเป็นหนึ่งในกระบวนการที่ใช้ผลการตรวจสารพันธุกรรมประกอบการแก้ไขปัญหาทางทะเบียนราษฎร เช่น การเพิ่มชื่อบุคคลเข้าในทะเบียนราษฎร หรือให้สัญชาติแก่ผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยเนื่องจากไม่ได้แจ้งเกิดในระยะเวลาที่กำหนด โดยการพิสูจน์ว่าผู้ไม่มีสัญชาติดังกล่าวมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับบุคคลอ้างอิงที่มีสัญชาติไทยหรือไม่ ทั้งนี้โดยทั่วไปผู้ประสบปัญหาทางทะเบียนราษฎรสามารถยื่นคำร้องการประสบปัญหาของตนต่อหน่วยงานทางปกครองในท้องที่ หากหน่วยงานทางปกครองพิจารณาแล้วว่าพยานหลักฐานอื่นยังไม่เพียงพอ จำเป็นต้องใช้ผลการตรวจสารพันธุกรรม ก็สามารถให้ผู้ประสบปัญหาทางทะเบียนราษฎรเข้ารับการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรม ณ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ได้
ลงทะเบียนสมาชิก
คุณสามารถ ขอรับบริการต่างๆ ได้โดยการเข้าสู่ระบบด้านล่างนี้หรือหากยังไม่เป็นสมาชิก สำหรับหน่วยงานภาครัฐ กรุณาติดต่อสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อลงทะเบียนเป็นสมาชิก
ขั้นตอนการตรวจสารพันธุกรรมเพื่องานทะเบียนราษฎร
กรณีได้รับอนุมัติให้เข้าตรวจสารพันธุกรรมเพื่องานทะเบียนราษฎรแล้ว ผู้รับบริการสามารถเข้ารับการตรวจสารพันธุกรรมได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยมีขั้นตอนการเข้ารับการตรวจ ดังนี้ 1. ผู้ประสบปัญหาทางทะเบียนราษฎรยื่นคำร้องต่อหน่วยงานทางปกครองในท้องที่ เช่น สำนักงานเขต, ที่ว่าการอำเภอ, สำนักทะเบียนท้องถิ่น ฯลฯ 2. ในกรณีที่หน่วยงานทางปกครองในท้องที่เห็นว่าจำเป็นต้องให้ตรวจสารพันธุกรรม ให้หน่วยงานดังกล่าวส่งหนังสือขอความอนุเคราะห์ตรวจสารพันธุกรรม ตามรายละเอียดดังนี้ 2.1 กรณีต้องการส่งเอกสารผ่านทางไปรษณีย์ กรุณาทำตามขั้นตอนในเอกสารวิธีการขอรับการตรวจสารพันธุกรรมเพื่องานทะเบียนราษฎร 2.2 กรณีต้องการส่งเอกสารผ่านทางระบบ e-service กรอกข้อมูลคำร้องในแบบขอรับบริการ e-service โดยกรอกข้อมูลบุคคลอ้างอิง บุคคลผู้ประสบปัญหา (และบุคคลที่สามารถติดต่อได้) ให้ครบถ้วน พร้อมแนบไฟล์เอกสารประกอบ ดังนี้ - หนังสือขอความอนุเคราะห์ตรวจสารพันธุกรรม - ภาพถ่ายหรือไฟล์สแกนบัตรประจำตัวประชาชนหรือสูติบัตร (เฉพาะบุคคลอ้างอิง) - ภาพถ่ายหรือไฟล์สแกนทะเบียนบ้านหรือแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร (เฉพาะบุคคลอ้างอิง) - เอกสารภาพถ่าย ปัจจุบันของบุคคลอ้างอิงและบุคคลตกหล่นทุกคน คลิกที่นี่เพื่อดู คู่มือสมัครบริการ E-Service (สำหรับหน่วยงานภาครัฐ) โดยละเอียด 3. เมื่อคำร้องขอความอนุเคราะห์ได้รับการอนุมัติจากผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์แล้ว เจ้าหน้าที่ของกลุ่มนิติเวชคลินิกจะติดต่อไปยังผู้จะเข้ารับการตรวจเพื่อนัดหมายเข้าเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรม (ทุกวันไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่เวลา 8.30 – 16.30 น.) 4. ผู้เข้ารับการตรวจทุกคน ทั้งบุคคลอ้างอิง และบุคคลผู้ประสบปัญหา เดินทางมาเข้ารับการจัดเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมพร้อมกัน ณ ห้องตรวจนิติเวชคลินิก สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ อาคาร B ชั้น 9 ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 5. เอกสารซึ่งผู้รับการตรวจต้องจัดเตรียมในวันเข้ารับการตรวจ ประกอบด้วย - บัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริง - สูติบัตรฉบับจริง ในกรณีเด็กหรือเยาวชนที่ยังไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนต้องมีบิดามารดา หรือผู้ปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ มาพร้อมกันด้วย - ทะเบียนบ้านหรือแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร ฉบับจริง - ญาติหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถูกอ้างเป็นพยาน ต้องนำบัตรประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการฉบับจริง มาแสดงด้วย 6. การตรวจสารพันธุกรรมใช้เวลาประมาณ 45 วันทำการ และเมื่อผลการตรวจเสร็จสิ้น สถาบันนิติวิทยาศาสตร์จะส่งผลการตรวจฉบับจริงทางไปรษณีย์ไปยังหน่วยงานทางปกครองที่ยื่นคำร้อง 7. ในระหว่างรอผลตรวจสารพันธุกรรม ผู้เข้ารับการตรวจสามารถติดตามสถานะ การตรวจได้ โดยใช้เลขติดตามที่เจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบในวันที่เข้ารับการจัดเก็บสารพันธุกรรม คลิกที่นี่เพื่อดู คู่มือสมัครบริการ E-Service (สำหรับประชาชน) โดยละเอียด 8. ผู้เข้ารับการตรวจติดต่อหน่วยงานทางปกครองเพื่อรับทราบผลการตรวจสารพันธุกรรม และดำเนินการทางทะเบียนราษฎรตามขั้นตอนของหน่วยงานทางปกครองต่อไป หมายเหตุ: - ผู้เข้ารับการจัดเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมไม่ต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนการตรวจ สามารถกินอาหาร น้ำ หรือยาได้ตามปกติ - การเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรม ใช้วิธีเช็ดจากเยื่อบุกระพุ้งแก้ม (Buccal Swab) ด้วยก้านโฟมหรือไม้พันสำลี ไม่ต้องเจาะเลือด - ในกรณีที่ผู้เข้ารับการจัดเก็บเคี้ยวหมาก มีแผลในช่องปาก หรือเป็นเด็กเล็กที่ยังดื่มนมแม่ อาจต้องมีการเจาะเลือดที่ปลายนิ้วหรือส้นเท้า - กระบวนการเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรม ใช้เวลาทั้งสิ้นไม่เกิน 1 ชั่วโมง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อกลุ่มนิติเวชคลินิก สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ โทร. 02-142-3571 0632733602 ทุกวันไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่เวลา 8.30 – 16.30 น.
เอกสารดาวน์โหลด
เอกสารวิธีการขอรับการตรวจสารพันธุกรรมเพื่องานทะเบียนราษฎร
ตัวอย่างหนังสือขอความอนุเคราะห์ตรวจสารพันธุกรรม
ตัวอย่างภาพถ่าย
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการตรวจสารพันธุกรรมเพื่องานทะเบียนราษฎร
ตารางการตรวจความสัมพันธ์ครอบครัวโดยการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรม
คู่มือสมัคร e-service (สำหรับประชาชน)
คู่มือสมัคร e-service (สำหรับหน่วยงานภาครัฐ)
ขั้นตอนการยื่นเรื่องขอรับบริการและการติดตามสถานะ (สำหรับหน่วยงานภาครัฐ)
แจ้งเรื่องราวร้องทุกข์
เรื่องราวร้องทุกข์ หมายถึง เรื่องราวร้องทุกข์ด้านนิติวิทยาศาสตร์ของประชาชน โดยเรื่องร้องทุกข์นั้นอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ที่สามารถดำเนินการได้ โดยไม่ขัดแย้งกับระเบียบข้อบังคับหรือกฏหมายใดๆ หรือเป็นการละเมิดอำนาจศาล ซึ่งผู้ร้องทุกข์ ได้แก่ ผู้เสียหาย ญาติสายตรงหรือทายาทโดยธรรมสามีหรือภรรยาที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมายของผู้เสียหาย หรือผู้เสียชีวิต ที่ดำเนินการเข้าแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ต่อสถาบันนิติวิทยาศาสตร์
ลงทะเบียนสมาชิก
คุณสามารถ ขอรับบริการต่างๆ ได้โดยการเข้าสู่ระบบด้านล่างนี้หรือหากยังไม่เป็นสมาชิก สำหรับหน่วยงานภาครัฐ กรุณาติดต่อสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อลงทะเบียนเป็นสมาชิก
ขั้นตอนการแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์
1. กรอกรายละเอียดในระบบ e-one stop service ให้ครบถ้วน พร้อมเเนบเอกสาร 2. รอผลการพิจารณาดำเนินการเรื่องราวร้องทุกข์ 3. รับรายงานผลการร้องทุกข์
การบริการด้านนิติวิทยาศาสตร์
การให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์สำหรับภาคเอกชนและประชาชน เป็นการให้บริการที่ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐในการตรวจพิสูจน์ด้านนิติวิทยาศาสตร์ในกรณีที่เรื่องดังกล่าวนั้นยังไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ประชาชน บุคคลทั่วไป และนิติบุคคล ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใดในเรื่องที่ยังไม่เป็นคดีหรือยังไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
ลงทะเบียนสมาชิก
คุณสามารถ ขอรับบริการต่างๆ ได้โดยการเข้าสู่ระบบด้านล่างนี้หรือหากยังไม่เป็นสมาชิก สำหรับหน่วยงานภาครัฐ กรุณาติดต่อสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อลงทะเบียนเป็นสมาชิก
ขั้นตอนการขอรับบริการด้านนิติวิทยาศาสตร์
1. กรอกรายละเอียด ในระบบ e-one stop service 2. นัดหมายวันที่จะเข้ารับบริการ 3. มาตามวันที่นัดหมาย กลุ่มบริหารจัดการวัตถุพยานที่ชั้น 9 ทิศตะวันออก อาคารบี ศูนย์ราชการฯ 4. กรอกรายละเอียดแบบคำขอรับบริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ และบันทึกข้อตกลงในการขอรับบริการ 5. ชำระค่าธรรมเนียม 6. เก็บตัวอย่างเพื่อตรวจพิสูจน์ 7. รับรายงานการตรวจพิสูจน์
การตรวจพิสูจน์ทางชีววิทยา DNA
การตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรม (DNA) จากสิ่งส่งตรวจวัตถุพยานจากสถานที่เกิดเหตุ บุคคลที่มีชีวิตหรือจากชิ้นส่วนของศพ โดยเก็บตัวอย่างได้จากเยื่อบุกระพุ้งแก้ม เลือดและรากผม เป็นต้น สามารถใช้พิสูจน์ความสัมพันธ์พ่อ แม่ ลูก และเครือญาติได้
อัตราค่าบริการ
เริ่มต้นที่ 6,500 บาท ถึง 16,000 บาท ต่อ 1 ตัวอย่างการตรวจพิสูจน์ ขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บตัวอย่างและวิธีการตรวจพิสูจน์ DNA
ขั้นตอนการตรวจพิสูจน์ทางชีววิทยา DNA
1. กรอกรายละเอียดในระบบ E-one stop service ให้ครบถ้วน พร้อมแนบเอกสาร 2. รอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม (ถ้ามี)
เอกสารดาวน์โหลด
ไม่มีเอกสาร
การตรวจวิเคราะห์สารเสพติดในเส้นผม
การตรวจสารเสพติดในเส้นผมเป็นวิธีการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ทราบถึง ประวัติการใช้ยาเสพติดได้ และสามารถตรวจติดตาม เพื่อเฝ้าระวังการกลับไปกระทำผิดซ้ำในกรณีเสพยาเสพติดได้ เนื่องจากเส้นผมเป็นแหล่งเก็บสะสมของสารเสพติดและยาที่เข้าสู่ร่างกายเมื่อเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน แตกต่างกับกรณีตรวจสารเสพติดและยาในเลือดหรือปัสสาวะที่สามารถตรวจสอบได้ในระยะเวลาไม่นาน โดยวิธีการตรวจพิสูจน์จะแบ่งการตรวจวิเคราะห์เป็น 2 แบบ ได้แก่ การตรวจวิเคราะห์หาสารเสพติดแบบไม่แบ่งระยะ (ทั้งเส้น) และแบ่งระยะการตรวจพิสูจน์เพื่อติดตามประวัติการใช้ยา สามารถตรวจหาสารเสพติดได้ถึง 26 ชนิด ในกลุ่มยาบ้า เฮโรอีน มอร์ฟีน ยานอนหลับ และยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์เสพติด ยกเว้นสารกลุ่มกัญชา
อัตราค่าบริการ
1. ตรวจเส้นผมทั้งเส้น ค่าบริการ 5,000 บาท 2. ตรวจเส้นผมแบบแบ่งระยะ ค่าบริการ 5,000 บาท ต่อ ระยะ
ขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์สารเสพติดในเส้นผม
1. กรอกรายละเอียดในระบบ E-one stop service ให้ครบถ้วน พร้อมแนบเอกสาร 2. รอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม (ถ้ามี)
เอกสารดาวน์โหลด
ไม่มีเอกสาร
การตรวจพิสูจน์พยานเอกสาร
การตรวจพิสูจน์พยานเอกสาร คือการตรวจเอกสารที่ต้องสงสัย ได้แก่ การตรวจลายมือเขียน ลายเซ็น การตรวจชนิดของหมึก กระดาษ ว่าเป็นชนิดเดียวกันหรือไม่ การตรวจหาข้อความที่เกิดจากขูดลบ เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข เพื่อหาข้อความเดิม การตรวจเอกสารปลอมแปลง รอยตราประทับ ธนบัตรและหนังสือเดินทาง
อัตราค่าบริการ
1. ค่าบริการปัญหาละ 10,000 บาท 2. ค่าบริการ 5 ปัญหาขึ้นไป 50,000 บาท
ขั้นตอนการตรวจพิสูจน์พยานเอกสาร
1. กรอกรายละเอียดในระบบ E-one stop service ให้ครบถ้วน พร้อมแนบเอกสาร 2. รอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม (ถ้ามี)
ขั้นตอนการขอรับสำเนารายงานผลการตรวจพิสูจน์ฯ
1. กรอกรายละเอียดในระบบ E-one stop service ให้ครบถ้วน พร้อมแนบเอกสาร 2. รอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม (ถ้ามี) 3. รับสำเนารายงานผลการตรวจพิสูจน์ฯ
เอกสารดาวน์โหลด
ไม่มีเอกสาร
ที่อยู่
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ชั้น 8 อาคารรัฐประศาสนภักดี(อาคาร B) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
งานประชาสัมพันธ์
(+66) 02 142 3491 , 02 142 3492
งานรับเรื่องราวร้องทุกข์ และบริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ภาคประชาชน
(+66) 02 142 3620, 062 323 9000
งานรับ-ส่งวัตถุพยานสำหรับภาครัฐ
(+66) 02 142 3593
งานสารบรรณ
(+66) 02 142 3477
Email : webmaster@cifs.mail.go.th
เมนูหลัก
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- พระราชบัญญัติการให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- พ.ร.บ. พ.ร.ก.
- กฎหมายลำดับรอง พระราชบัญญัติการให้บริการฯ
- Infographic ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
- ประกาศสถาบันฯ
- มาตรการ ข้อบังคับ ฯ
- นโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ
- อนุบัญญัติเเละคำแนะนำที่เกี่ยวข้องตาม พ.ร.บ. 77 ประกาศราชกิจจานุเบกษา 27 พฤศจิกายน 2562
- บทความความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ
- แนวทางปฏิบัติในการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี